วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554


หลักการและเหตุผล
                การดำเนินงานของการประกันสังคมมีอยู่ในหลายๆ ประเทศ ซึ่งในปัจจุบันได้มีหลักการ ที่ไม่แตกต่างกัน เนื่องจากการประกันสังคมเป็นโครงการการบริการทางสังคมระยะยาวอีกระบบหนึ่งที่รัฐเป็นผู้ดำเนินการจัดขึ้น ด้วยการให้ประชาชนผู้มีรายได้แต่ละคนได้มีส่วนช่วยตนเองหรือครอบครัว โดยร่วมกันเสี่ยงภัยหรือช่วยเหลือบำบัดความทุกข์ยากเดือดร้อนซึ่งกันและกันระหว่าง ผู้มีรายได้ในสังคม โดยมีนายจ้าง ลูกจ้าง และในบางประเทศมีรัฐบาลร่วมออกเงินสมทบเข้ากองทุนนี้ด้วย กองทุนนั้นจะจ่ายประโยชน์ทดแทนให้แก่ผู้ส่งเงินสมทบเมื่อเกิดความเดือดร้อน เช่น เจ็บป่วย คลอดบุตร ว่างงาน ชราภาพ เป็นต้น
                ประเทศไทย ได้มีความพยายามที่จะนำระบบประกันสังคมมาใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2495 เป็นต้นมา แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ จนกระทั่งในปี พ.ศ.2515 กรมแรงงานได้ผลักดันให้มีการจัดตั้งสำนักงานกองทุนเงินทดแทนขึ้น เพื่อให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างเมื่อประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจากการทำงาน ซึ่งนับว่าเป็นก้าวแรกของการประกันสังคมในประเทศไทย ที่ให้หลักประกันแก่ลูกจ้างในการทำงาน จนมาถึงวันที่ 3 กันยายน 2533 สำนักงานประกันสังคม จึงได้ก่อตั้งขึ้น ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 โดยโอนงานของกรมประชาสงเคราะห์ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประกันสังคม และงานของสำนักงานกองทุนเงินทดแทนของกรมแรงงาน มาอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานประกันสังคม สังกัดกระทรวงมหาดไทย และได้โอนมาอยู่ในสังกัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2536 (กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเปลี่ยนชื่อเป็น กระทรวงแรงงาน เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2545) ซึ่งสำนักงานประกันสังคม ได้ยึดหลักการในการดำเนินงานประกันสังคม คือ
                - นายจ้างและลูกจ้างจะออกเงินสมทบร่วมกันส่วนรัฐบาลจะออกเงินอุดหนุนบางส่วน
                - การเข้าสู่โครงการประกันสังคมเป็นลักษณะบังคับ
                - การจัดตั้งกองทุนเพื่อนำไปจ่ายประโยชน์ทดแทนตามเงื่อนไขที่กำหนดและส่วนหนึ่งของเงินสมทบจะนำไปลงทุนเพื่อให้กองทุนมีสินทรัพย์มากขึ้น
                - สิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนเกิดจากการจ่ายเงินสมทบที่เป็นไปตามเงื่อนไข
                - อัตราเงินสมทบและประโยชน์ทดแทนมีความสัมพันธ์กับรายได้ของผู้ประกันตน
                ในปัจจุบัน สำนักงานประกันสังคมมีวัตถุประสงค์เพื่อให้หลักประกันในการดำรงชีวิตแก่ผู้ประกันตนให้เกิดความมั่นคง ตั้งแต่เกิดจนวาระสุดท้ายของชีวิต และเสริมสร้างสังคมและประเทศชาติให้มีเสถียรภาพเป็นปึกแผ่น โดยให้ความคุ้มครองแก่สมาชิก 7 กรณี คือ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ คลอดบุตร ตายที่ไม่เนื่องจากการทำงาน ชราภาพ สงเคราะห์บุตร และกรณีว่างงาน ผู้ประกันตนจะได้รับการคุ้มครองเมื่อเจ็บป่วยหรือประสบเหตุ ที่ทำให้เดือดร้อนโดยจะให้ในรูปตัวเงิน และบริการทางการแพทย์ เพราะฉะนั้นเราจะกล่าวได้ว่า ระบบประกันสังคม เป็นหนึ่งในบริการด้านสวัสดิการสังคม เพื่อที่จะคุ้มครองป้องกันประชาชนที่มีรายได้ประจำ มิให้ได้รับความเดือดร้อนในความเป็นอยู่ของชีวิต เมื่อต้องสูญเสียรายได้ทั้งหมดหรือบางส่วน หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การครองชีพ

              
ข้อมูลสถิติสถานประกอบการ กับ ระบบประกันสังคมในประเทศไทย ( คลิกดู )

ข้อมูลสถิติสถานประกอบการ กับ ระบบประกันสังคมในประเทศไทย ( กราฟข้อมูล )
                 กราฟแสดงการเปรียบเทียบจำนวนสถานประกอบการในระบบประกันสังคม ของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2549 – 2552( จังหวัดที่มีจำนวนสถานประกอบการในระประกันสังคมมากที่สุด  )
กราฟแสดงการเปรียบเทียบจำนวนสถานประกอบการในระบบประกันสังคม ของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2549 – 2552 โดยกราฟสีน้ำตาล แทนสถานประกอบการในระบบประกันสังคม ของประเทศไทย โดยพบว่าปี พ.ศ. 2552 มีสถานประกอบการในระบบประกันสังคม จำนวน 390,000 แห่ง ซึ่งแตกต่างจากปี พ.ศ. 2551 มีสถานประกอบการในระบบประกันสังคมเพียง 382170 แห่ง

               กราฟแสดงการเปรียบเทียบจำนวนสถานประกอบการในระบบประกันสังคม ในกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2549 – 2552


                กราฟแสดงการเปรียบเทียบจำนวนสถานประกอบการในระบบประกันสังคม ในกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2549 – 2552 จากกราฟแท่งสีแดงแทนสถานประกอบการในระบบสังคมในกรุงเทพมหานครพบว่าในปี พ.ศ. 2549 – 2552 มีจำนวนสถานประกอบการที่ทประกันสังคมเป็นจำนวน 140009 แห่ง ซึ่งแตกต่างจาก พ.2551 ซึ่งมีจำนาน 138665 แห่ง

               กราฟแสดงการเปรียบเทียบจำนวนสถานประกอบการในระบบประกันสังคม ในเมืองหลัก ปี พ.ศ. 2549 – 2552

                 กราฟแสดงการเปรียบเทียบจำนวนสถานประกอบการในระบบประกันสังคม ในเมืองหลัก ปี พ.ศ. 2549 – 2552จากกราฟเส้นสีน้ำเงินแทนจังหวัดสมุทรปราการ เส้นสีน้ำตาลแทนจังหวัดชลบุรี เส้นสีเขียวแทนจังหวัดนนทบุรี เส้นสีม่วงแทนจังหวัดเชียงใหม่ เส้นสีฟ้าแทนจังหวัดปทุมธานี เส้นสีส้มแทนสงขลา เส้นสีม่วงอ่อน พบว่าจังหวัดที่มีประกันสังคมมากที่สุดคือจังหวัดสมุทรปราการเพราะมีโรงงานอุสาหกรรมมากที่สุดและเป็นสถานที่มีผู้คนมากที่เข้ามาทำงานต้องทำประสังคมทุกคน

ข้อเสนอแนะ
-              ไม่อยากให้มองสถานประกอบการเป็นเพียงธุรกิจ
-               อยากให้รัฐมาช่วยเยอะๆเพราะเป็นผลดีของการทำงานอาจจะมองได้อีกมุมหนึ่งคือเป็นขวัญกำลังใจการให้กำลังใจการตอบแทนค่าแรงงาน และอยากให้ทำอย่างทั่วถึงทุกคนในประเทศ
สรุป
                ประกันสังคม หมายถึง การประกันที่พระราชบัญญัติ ประกันสังคมบังคับใช้กับสถานประกอบการที่มีลูกจ้าง 10 คนขึ้นไป ซึ่งสถานประกอบการ ตัวแทนพนักงานและรัฐจะต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนประกันสังคม ในอัตราเท่าๆ กัน เป็นประจำทุกเดือน
                สถานประกอบการ หมายถึง สถานที่หรือบางส่วนของสถานที่ ที่ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจอยู่ในที่ตั้งที่แน่นอนไม่ว่ากิจกรรมนั้นจะดำเนินงานโดยบุคคลที่เป็นเจ้าของหรือควบคุมกิจการ โดยนิติบุคคลก็ตาม
                ในปัจจุบัน สำนักงานประกันสังคมมีวัตถุประสงค์เพื่อให้หลักประกันในการดำรงชีวิตแก่ผู้ประกันตนให้เกิดความมั่นคง ตั้งแต่เกิดจนวาระสุดท้ายของชีวิต และเสริมสร้างสังคมและประเทศชาติให้มีเสถียรภาพเป็นปึกแผ่น โดยให้ความคุ้มครองแก่สมาชิก 7 กรณี คือ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ คลอดบุตร ตายที่ไม่เนื่องจากการทำงาน ชราภาพ สงเคราะห์บุตร และกรณีว่างงาน ผู้ประกันตนจะได้รับการคุ้มครองเมื่อเจ็บป่วยหรือประสบเหตุ ที่ทำให้เดือดร้อนโดยจะให้ในรูปตัวเงิน และบริการทางการแพทย์ เพราะฉะนั้นเราจะกล่าวได้ว่า ระบบประกันสังคม เป็นหนึ่งในบริการด้านสวัสดิการสังคม เพื่อที่จะคุ้มครองป้องกันประชาชนที่มีรายได้ประจำ มิให้ได้รับความเดือดร้อนในความเป็นอยู่ของชีวิต เมื่อต้องสูญเสียรายได้ทั้งหมดหรือบางส่วน หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การครองชีพ

ข้อมูลอ้างอิง
                http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/citizen/topten/showarea.jsp        สำนักงานสถิติแห่งชาติ
                http://www.sso.go.th/wpr/category.jsp?lang=th&cat=141                           สำนักงานประกันสังคม